LEGAL INTELLIGENCE
Attorneys At Law
บริษัท ลีกัล อินเทลลิเจนซ์ จำกัด เป็นสำนักงานทนายความของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความหลากหลาย มีประสบการณ์ โดยได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อปีพ.ศ.2546 ซึ่งมีดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล ใบอนุญาตว่าความเลขที่ 586/2538 เป็นหัวหน้าสำนักงานและเป็นกรรมการผู้จัดการได้รวมตัวนักกฎหมาย/ทนายความที่มากด้วยประสบการณ์และมีความถนัดแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญล้วนมีอุดมการณ์และทัศนคติเดียวกัน บริษัทจึงสามารถให้บริการด้านกฎหมายและคดีความในทุกประเภท
เน้นที่การแก้ปัญหาให้คุณ
เกี่ยวกับกรณีปัญหาคดีความต่างๆหรือเรื่องหารือใดๆนั้น สำนักงานจะทำงานกันเป็นทีม โดยทีมทนายจะประชุมถกเถียงอยู่บนเหตุและผลขององค์ประกอบกฎหมาย จะนำข้อมูลของคุณไปวิเคราะห์สังเคราะห์ พร้อมกับคำพิพากษาฎีกาหรือแนวคำวินิจฉัยในคดีต่างๆ เพื่อให้คุณได้รับคำตอบที่ดีที่สุด ตรงกับปัญหาที่คุณมีอยู่
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการในด้านดังกล่าวอย่างครบวงจร นับแต่การติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้ด้วยวิธีการเจรจากับลูกหนี้
ให้บริการเกี่ยวกับการบังคับคดีทุกประเภท การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล การยึดทรัพย์ และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เป็นต้น
จัดทำงบการเงิน และวางแผนภาษี
ให้บริการในด้านดังกล่าวอย่างครบวงจร นับแต่การติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้ด้วยวิธีการเจรจากับลูกหนี้
ผลงานของเรา
ตลอดระยะเวลาร่วม 30 ปี บริษัทได้ให้บริการด้านคดีความและด้านที่ปรึกษากฎหมายหลายบริษัททั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้
งานที่ปรึกษากฎหมาย
- บริษัท เอคิวเอสเตท จำกัด(มหาชน)
- บริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ จำกัด และบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง ทั้งจากเอกชนละหน่วยงานราชการ
- บริษัท ทิพากร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างให้กับหน่วยงานของราชการหลายโครงการ
- ที่ปรึกษากฎหมายกิจการร่วมค้า เอเอส-ช.ทวีแลนด์แอสโซซิเอทส์
- ที่ปรึกษากฎหมายบริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
- บริษัท วัฒนชัยรับเบอร์เมท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตถุงมือยาง
- บริษัท 113 จำกัด บริษัทของคุณวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2556, รางวัลซีไรต์ ปี 2540 และ 2542
- บริษัท เค.ดี.เอส.(1998)จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สร้างบ้าน
- ที่ปรึกษากฎหมายบริษัท เพมโก้ อินเตอร์ไลท์ จำกัด จำหน่ายอุปกรณ์โคมไฟฯ ในนาม Lamtitude
- ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
- คุณฑิฆัมพร(เชียร์) ฤทธิ์ธาอภินันท์ และ บริษัท ชาร์มมิ่งเวิลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ ชาเม่ (CHAME’)
- คุณฉัตรปวีณ์(ซี) ตรีชัชวาลวงศ์ เจ้าของช่อง YouTube: Cee mee Again
- อาจารย์พิเศษ/ที่ปรึกษากฎหมาย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ที่ปรึกษากฎหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์พิเศษบรรยายหลักสูตรอบรมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงเรียนนานาชาติ เวลลิงตันคอลเลจกรุงเทพ
- โรงเรียนนานาชาติแอสคอต
- สำนักข่าวออนไลน์ THE STANDARD
- กลุ่มบริษัทในเครือไทยซัมมิท กรุ๊ป
- ที่ปรึกษาคณะทำงานศูนย์เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)
- กรรมการอำนวยการสำนักอบรมวิชาว่าความสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
- รองประธานคณะกรรมการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
- คณะทำงานด้านคดีความสิ่งแวดล้อม สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2563 ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2563 ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการร่างกฎหมายคุ้มครองพยาน วุฒิสภา
- พ.ศ. 2559-2561 ที่ปรึกษากฎหมายให้กับบริษัท บ้านริก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับอุปกรณ์เอฟเฟกต์ที่ใช้ในการแสดงการถ่ายทำละคร และละครเวทีต่าง ๆ
- พ.ศ. 2554-2560 ที่ปรึกษากฎหมายบริษัทในกลุ่มทีทีซีน้ำสยาม และในเครือเบนซ์ TTC
- พ.ศ. 2558-2560 ที่ปรึกษากฎหมายกลุ่มบริษัทในเครือ ทีบีเอ็นพร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งบริหารศูนย์การค้า PASEO และร้านจำหน่ายรถยนต์ TOYOTA
- พ.ศ. 2557-2560 ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและธรรมาภิบาลของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้(ศชต.)
การดำเนินคดีแพ่ง
คดีแพ่งนั้นเป็นคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง อาทิ คดีผิดสัญญาต่าง ๆ (สัญญากู้ยืมเงิน, สัญญาเช่าซื้อ, สัญญาเช่าทรัพย์, สัญญาจำนอง ฯลฯ) หรือการฟ้องเป็นคดีละเมิด เรียกให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน นอกจากนี้ยังรวมถึงกรณีที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิในทางศาลเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เช่น คดีร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งถือเป็นคดีไม่ข้อพิพาท เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปวัตถุประสงค์ในการฟ้องเป็นคดีแพ่งจะมุ่งให้จำเลยชำระเงิน มิใช่มุ่งให้จำเลยต้องถูกลงโทษดังเช่นคดีอาญา โดยในการดำเนินคดีแพ่งนั้นศาลจะดูที่พยานเอกสารเป็นสำคัญซึ่งจะแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา
โดยบริษัทได้ให้บริการในการดำเนินคดีแพ่งครบทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการฟ้องร้องเป็นคดี โดยจะดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการส่งหนังสือทวงถาม(Notice) ยื่นฟ้องต่อศาล ดำเนินกระบวนพิจารณา(ไกล่เกลี่ยหรือสืบพยาน) จนกระทั่งศาลมีคำพากษาและออกหมายบังคับคดี ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือบังคับคดี โดยจะดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการสืบทรัพย์ ตั้งเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ขายทอดตลาด หรือดำเนินการขับไล่ลูกหนี้และบริวาร ไปจนถึงการออกหมายจับลูกหนี้และบริวารที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้รับว่าความให้กับบุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ (บริษัท,ห้างหุ้นส่วนจำกัด, นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ) ซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งทั้งที่เป็นฝ่ายโจทก์ และเป็นฝ่ายจำเลย นอกจากนี้บริษัทยังรับว่าความให้กับธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมไปถึงกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อีกด้วย ซึ่งในส่วนของธนาคารและสถาบันการเงินจะเป็นคดีเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล ผิดสัญญากูยืมเงิน ผิดสัญญาจำนอง และคดีขับไล่ลูกหนี้และบริวารออกจากทรัพย์พิพาท เป็นต้น
โดยบริษัทขอนำเสนอคดีแพ่งที่บริษัทได้รับเป็นทนายความให้ พอสังเขปดังนี้
การดำเนินคดีอาญา
คดีอาญาคือ คดีที่ฟ้องร้องกันเนื่องจากมีการกระทำความผิดทางอาญา หรือที่พูดกันง่ายๆ ว่า ฟ้องร้องเพื่อให้อีกฝ่ายติดคุก หรือรับโทษอื่น ๆ ในทางอาญา เช่น ให้ปรับ ให้ประหารชีวิต เช่น คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีฆ่าคนตาย คดีประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต คดีรับของโจร เป็นต้น ซึ่งโทษทางอาญามีอยู่ 5 ประการคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
โดยคดีอาญาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
(1) คดีอาญาที่ยอมความไม่ได้หรือคดีอาญาแผ่นดิน เช่น คดีลักทรัพย์ คดีฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น
(2) คดีอาญาที่ยอมความได้หรือคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เช่น คดียักยอกทรัพย์ คดีฉ้อโกง เป็นต้น
ซึ่งการฟ้องร้องเป็นคดีอาญา เมื่อมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้นสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1.แจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2.จ้างทนายความฟ้องร้องเอง
กรณีแรก : เมื่อมีการทำความผิดเกิดขึ้น จะมีการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสอบปากคำและจัดทำสำนวนเสร็จแล้ว จะมีความเห็นว่าควรส่งฟ้องหรือไม่ และมีการเสนอสำนวนไปยัง พนักงานอัยการเมื่อพนักงานอัยการตรวจดูสำนวนแล้ว ถ้ามีความเห็นควรส่งฟ้อง ก็จะดำเนินการฟ้องคดีอาญา เพื่อให้จำเลยได้รับโทษต่อไป
กรณีที่สอง : เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายจะจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องคดีเอง โดยจะมีการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ก็ได้ หรือกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า คดีจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในชั้นตำรวจ เนื่องจากผู้กระทำความผิดมีการวิ่งเต้น หรือมีอิทธิพล หรืออาจเป็นคดีเล็กน้อย เช่น คดีตั๋วเงิน (เช็ค) ซึ่งถ้าแจ้งความแล้วจะล่าช้ากว่าการจ้างทนายความฟ้องร้องคดีเอง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้รับว่าความให้คู่ความทั้งที่เป็นโจทก์เอง เป็นโจทก์ร่วม หรือเป็นจำเลยในคดีอาญามากมาย ซึ่งในการดำเนินคดีอาญานั้นศาลจะรับฟังพยานบุคคลเป็นสำคัญ ซึ่งตากจากคดีแพ่งที่ศาลจะดูพยานเอกสารเป็นสำคัญ โดยบริษัทขอนำเสนอคดีอาญาบางส่วนที่บริษัทได้รับว่าความให้กับลูกความทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล พอสังเขปดังนี้
การดำเนินคดีชำนัญพิเศษ
เป็นคดีที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่างจากคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั่วไป โดยศาลจะใช้วิธีพิจารณาความพิเศษตามแต่ละประเภทคดี ซึ่งจะต้องใช้ทนายความที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะเป็นการเจาะจง
โดยคดีที่อยู่ในกลุ่มคดีชำนัญพิเศษนี้จะมีศาลชำนัญพิเศษเพื่อรับดำเนินคดีโดยเฉพาะ เช่น คดีเกี่ยวกับเด็ก, เยาวชนและครอบครัวจะต้องขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว คดีเกี่ยวกับนายจ้างและลูกจ้างจะต้องขึ้นศาลแรงงาน คดีเกี่ยวกับภาษีอากรจะต้องขึ้นศาลภาษีอากร คดีเกี่ยวกับการล้มละลายจะต้องขึ้นศาลล้มละลาย และคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และการค้าระหว่างประเทศจะต้องขึ้นศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
ซึ่งบริษัทก็ได้รับว่าความให้กับคู่ความที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคดีประเภทนี้เช่นกัน โดยบริษัทเองมีทนายความหลายท่านที่มีทั้งความรู้และประสบการณ์ในแต่ละด้านเป็นการเฉพาะทาง ในการดำเนินคดีชำนัญพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคู่ความที่บริษัทรับดำเนินคดีให้ โดยจะขอนำเสนอตัวอย่างคดีที่บริษัทเคยรับเป็นทนายความให้ทั้งที่เป็นฝ่ายโจทก์ และฝ่ายจำเลย พอสังเขปดังนี้
- – ฎีกาที่น่าสนใจ –
การแบ่งมรดกที่มีคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2563 (หน้า 36 เล่ม 12) โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของพันเอก ก. จำเลยยังมิได้แบ่งปันมรดกของพันเอก ก.ให้แก่โจทก์และน้องๆ และจนถึงบัดนี้จำเลยก็ยังจัดการมรดกของพันเอก ก.ไม่แล้วเสร็จ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกของพันเอก ก. และมีคำขอท้ายฟ้องโดยขอให้จำเลยจดทะเบียนโอนแบ่งมรดกให้โจทก์ 1 ใน 7 ส่วน และให้กำจัดจำเลยไม่ให้ได้รับทรัพย์มรดกของพันเอก ก. กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งหกแปลงอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์โดยจำเลยไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดหรือครอบครองไว้ แต่เป็นการฟ้องจำเลยเพื่อขอแบ่งทรัพย์มรดกของพันเอก ก.ให้แก่โจทก์โดยตรง คดีย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีข้อยกเว้นตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี
พันเอก ก.และ ฐ.จดทะเบียนสมรสกัน หลังจากนั้นมีการซื้อที่ดินร่วมกันโดยใส่ชื่อของ ฐ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในที่ดินทุกแปลงที่ร่วมกันซื้อมาร่วมถึงที่ดินพิพาททั้งหกแปลงในคดีนี้ด้วย ที่ดินพิพาททั้งหกแปลงที่ร่วมกันซื้อมาจึงเป็นสินสมรส ต่อมาพันเอก ก.ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้งหกแปลงจึงต้องแบ่งแก่ ฐ.กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1625(1) อีกกึ่งหนี่งเป็นมรดกของพันเอก ก.ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม คือ ฐ.ในฐานะคู่สมรสและบุตรอีก 6 คน ที่มีโจทก์และจำเลยรวมอยู่ด้วยคนละ 1 ใน 7 ส่วน เท่าๆ กัน ตามมาตรา 1629(1) และวรรคท้าย ประกอบมาตรา 1635(1) แต่ก่อนพันเอก ก.แก่ความตาย ฐ.จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 14765, 14767 และ 113348 ให้แก่โจทก์ หลังพันเอก ก.ถึงแก่ความตาย ฐ.จดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ฐ.คนละกึ่งหนึ่งในที่ดินโฉนดเลขที่ 14766 และ 7043 โดยโจทก์ไม่มีการโต้แย้งว่ามีส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพันเอก ก. กับไม่มีการเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพันเอก ก.ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท กลับยอมรับในการใช้สิทธิโดยเด็ดขาดตามอำเภอใจของ ฐ.แต่ฝ่ายเดียว พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า ฐ.ครอบครองที่ดินทั้งหกแปลงดังกล่าวในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว หาใช่เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นไม่ ฐ.ซึ่งไม่ใช่ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์หรือทายาทอื่นว่า ไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์มรดกแทนอีกต่อไป และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งหกแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย ที่ดินพิพาททั้งหกแปลงจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ฐ.แต่เพียงผู้เดียว ฐ.ย่อมมีสิทธิยกที่พิพาททั้งหกแปลงซึ่งรวมส่วนที่เป็นมรดกของพันเอก ก.ด้วยให้แก่จำเลย จำเลยในฐานะส่วนตัวย่อมรับมาซึ่งสิทธิที่ ฐ.มีอยู่และชอบที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ในฐานะผู้สืบสิทธิของ ฐ.ตามมาตรา 1755 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง คดีย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง และวรรคท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่พันเอก ก.ถึงแก่ความตายหรือโจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตาย ทั้งยังเกินกำหนดสิบปีนับแต่พันเอก ก.ถึงแก่ความตายอีกด้วย คดีโจทก์จึงขาดอายุความ