หมิ่นประมาท

3 ส.ค. 2017 | บทความ

มาตรา 326 ผู้ใด “ใส่ความผู้อื่น” ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2558 การนำหนังสือพิมพ์ไปแจกโดยทราบว่ามีเนื้อหาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ถือได้ว่าเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไปแล้ว จึงเป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดย การโฆษณา คำพิพากษาฎีกาที่ 3252/2543 คำว่า “ใส่ความ” ตาม ป.อ. มาตรา 326 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง พูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลย ที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ คำพิพากษาฎีกาที่ 2180/2531 การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น จะต้องเป็นการใส่ความผู้อื่น โดยยืนยันข้อเท็จจริงที่ใส่ความนั้น ต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะทำให้ผู้อื่นที่ถูกใส่ความเสียชื่อเสียงดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง คำพิพากษาฎีกาที่ 1325/2498 กรณีที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ข้อความที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ และโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความถึงบุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาทนั้นด้วย / เมื่อในคำโฆษณามีความหมายเฉพาะนายแพทย์ชายคนหนึ่ง ไม่มีกินความถึงนายแพทย์ทุก ๆ คนของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งโจทก์หาได้นำสืบถึงนายแพทย์คนที่ถูกใส่ความหมิ่นประมาท ก็ย่อมทราบไม่ได้ว่านายแพทย์คนใดเป็นผู้เสียหาย / เมื่อตามคำฟ้องไม่มีช่องทางแสดงให้เห็นว่าจำเลยมุ่งหมายกล่าวใส่ความถึงนายแพทย์เฉลิม นายแพทย์เฉลิมจึงมิใช่ผู้เสียหาย อันจะพึงร้องทุกข์ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3954/2539 ที่จำเลยที่ 1 กล่าวถึงกองทัพ บุคคลธรรมดาทั่วไป ย่อมไม่อาจเข้าใจว่าเป็นการกล่าวถึงกองทัพใด จะถือว่าจำเลยที่ 1 ใส่ความกองทัพบกโดยเฉพาะหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทกองทัพบก กองทัพบกจึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หมิ่นประมาทบุคคลหนึ่ง กลุ่มบุคคล โดยไม่ได้เจาะจง หรือไม่อาจทราบว่าเป็นผู้ใด ในกลุ่มนั้น คนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่ผู้เสียหาย คำพิพากษาฎีกาที่ 1325/2498 คำโฆษณากล่าวถึง แพทย์คนหนึ่งในโรงพยาบาล ไม่หมายถึงแพทย์ทุกคน ไม่เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฎีกาที่ 56/2490 การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามกฏหมายนั้น ถ้อยคำที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ